เป็นคราวซวยของหญิงรายหนึ่งก็ว่าได้กับการไปกิน บุฟเฟต์ ร้านหนึ่งแล้วสั่ง กุ้ง-หมึก 60 ตัว จากที่นึกว่าจะเป็นตัว แต่ได้เป็นถาดมาแทน (25 ก.ค. 2565) ถือว่าเป็นการเตือนใจถึงผู้ที่ชื่นชอบในการรับประทาน บุฟเฟต์ ก็ว่าได้กับการที่หญิงรายหนึ่งได้เปิดเผยเรื่องราวถึงการสั่งอาหารที่จากการสั่ง กุ้ง-หมึก จากที่ตั้งใจไว้แค่ 60 ตัว มาเป็น 60 ถาดแทน ส่งผลให้ต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวนมาก
โดยรายละเอียดของเรื่องราวนั้น ก็คือการผู้ใช้งานเฟซบุ๊กหญิงรายหนึ่ง
ได้เปิดเผยถึงการถูกปรับเงินจากการกินบุฟเฟต์เป็นจำนวน 700 บาท ซึ่งก็มีสาเหตุมาจากแนวทางการสั่งอาหาร ที่ไม่รู้ด้วยเหตุผลใดจากที่คิดว่าจะได้เป็นแบบตัว แต่กลับมาได้เป็นแบบถาด/จานแทน
ทำให้เมื่อเพื่อนที่ไปกินด้วยกันบอกให้สั่งกุ้งไป 20 ตนเองจึงเข้าใจว่าเป็น 20 (ตัว) เลยทำการสั่งกุ้ง เพิ่มหมึกเข้าไปเป็นจำนวน 60 โดยเมื่ออาหารมาถึงก็ปรากฎว่าเป็นถาดแทน ไม่ใช่แค่ตัว ซึ่งเธอก็พยายามจะแจ้งแก่พนักงานว่าเป็นการเข้าใจผิด และต้องการคืนอาหารบางส่วน แต่ทางพนักงานก็บอกว่าไม่สามารถคืนได้ และกรุณากินให้หมดด้วย ไม่เช่นนั้นจะถูกปรับเงิน
สุดท้ายแล้วนั้น ก็ไม่สามารถกินได้หมด เนื่องจากในกลุ่มที่กินกันไปนั้น มีที่รับประทานส่วนอาหารทะเลเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น และพยายามได้มากที่สุด จนเหลือแค่ 20 ถาด ปริมาณครึ่งกิโลกรัม
ในส่วนของค่าเสียหายนั้นก็เป็นอยู่ที่ 2,744 บาท (ค่าปรับ 700 + ค่าอาหาร (511 x 4 = 2,044 บาท)) แต่ยังดีที่ได้ Voucher จากแอปพลิเคชัน มูลค่า 2,500 ทำให้ต้องจ่ายเพิ่มที่ 244 บาท
หลังจากที่มีการเปิดเรื่องราวไปนั้น ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็น และประสบการณ์กันเป็นอย่างมาก ทั้งที่มองว่าการสั่งอาหารแล้วจะได้มาเป็นถาด/จาน นับว่าเป็นเรื่องปกติ และที่น่าจะรู้โดยทั่วกัน, บางร้านอาหารก็ได้มีการให้อาหารเป็นแบบ 1 เมนู = 1 ชิ้น รวมไปถึงความไม่สม่ำเสมอในแนวทางสั่งอาหารของบางร้านด้วยเช่นกัน
ทางด้านของเจ้าของเรื่องก็ได้มาชี้แจงเพิ่มเติมว่า เรื่องราวดังกล่าวเป็นแค่การแบ่งปันประสบการณ์ที่ตนเองมองว่าเป็นเรื่องตลกเท่านั้น และเคยได้มีการใช้บริการร้านนี้อย่างบ่อยครั้ง และมักจะใช้แนวทาง 1 เมนู = 1 ชิ้น มาโดยตลอด แต่ในครั้งนี้กลับได้เป็นแบบถาด/จานแทน ทำให้ตนเองประหลาดใจเท่านั้นเอง
แพทย์รามาฯ 851 ชีวิต ร่วมค้าน กัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศ
แพทย์รามาฯ 851 ชีวิต ร่วมลงชื่อค้าน กัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศ จี้จัดให้มีกระบวนการรับฟังผู้เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านเพื่อร่วมกันออกแบบนโยบายกัญชาแห่งประเทศไทย ผศ.นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการนิติเวชศาสตร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะนายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กยื่นจดหมายคัดค้านกัญชาเสรีและขอให้ปิดกัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศ โดยมีแพทย์ 851 ชีวิตที่ร่วมลงชื่อ
ในแถลงการณ์ระบุว่า เนื่องจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 พ.ศ.2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2565 ที่ผ่านมาได้กำหนดให้พืชกัญชาไม่เป็นยาเสพติด แต่ไม่มีนโยบายควบคุมการใช้กัญชาอย่างครอบคลุมและปลอดภัย
จึงทำให้มีการใช้กัญชาอย่างเสรีในเชิงนันทนาการอย่างแพร่หลาย นำไปสู่การเข้าถึงการใช้กัญชาของเด็ก และเยาวชน ซึ่งผิดจากเหตุผลของการออกนโยบายกัญชาเสรีที่รัฐบาล และผู้เกี่ยวข้องเคยกล่าวอ้างว่าต้องการให้ประชาชนได้เข้าถึงกัญชาทางการแพทย์มากขึ้น
แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด อาจารย์แพทย์และศิษย์เก่าแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตามรายชื่อแนบ 851 รายชื่อ ในฐานะบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย เล็งเห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปิดใช้กัญชาเสรีโดยไม่มีการกำกับควบคุมอย่างเหมาะสมในขณะนี้ จึงขอแสดงจุดยืนสนับสนุน จดหมายเปิดผนึกฉบับที่สองของเครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด
ที่ขอให้ออกมาตรการ “ปิดสภาวะกัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศทันที” และ “จัดให้มีกระบวนการรับฟังผู้เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านเพื่อร่วมกันออกแบบนโยบายกัญชาแห่งประเทศไทย” และ แคมเปญ “ชะลอกัญชาเสรี ขอออกกฎหมายคุ้มครองไม่ให้เด็กใช้กัญชาออกมาก่อน” บนช่องทาง change.org (change.org/DelayCannabisLaw ) ของภาคประชาชน ซึ่งมีผู้ร่วมลงชื่อแล้วกว่า 6,000 คน เพื่อให้รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องหยุดภัยคุกคามทางสุขภาพในครั้งนี้โดยเร็วที่สุด รวมถึงปรับแก้ให้ใช้งานกัญชาได้ประโยชน์อย่างสูงสุดทางการแพทย์โดยควบคุมและป้องกันผลกระทบต่อประชาชนให้เกิดน้อยที่สุด ดังเช่นเหตุของการออกนโยบายแต่เดิมที่ได้เคยกล่าวอ้างไว้
การควบคุมขณะนี้ไม่สามารถใช้กลยุทธ์วัคซีนอย่างเดียวได้ ต้องควบคู่กับการรักษาที่เข้าถึงได้ทุกคน ทั่วถึงตั้งแต่นาทีแรกที่รู้ว่ามีติดเชื้อ และต้องตระหนักว่ายาที่ใช้ในปัจจุบันที่มีกลไกออกฤทธิ์เดี่ยว ที่ตำแหน่งเดียวของวงจรไวรัส อาจมีประสิทธิภาพลดลงจากรายงานในประเทศต่างๆ จึงมียาราคาแพงออกมาตลอดเวลา รวมทั้งการใช้โมโนโคลนัลแอนติบอดี ที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสายพันธุ์
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง