นักวิทยาศาสตร์ในประเทศเดนมาร์กออกมาแสดงความกังวลหลังพบว่า รูโหว่โอโซน ปีนี้ใหญ่กว่าผิดปกติ และมีขนาดใหญ่กว่าทวีปแอนตาร์กติกา เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม สำนักข่าว เดอะ การ์เดียน รายงานว่า นักวิจัยจาก บริการเฝ้าระวังชั้นบรรยากาศโคเปนเฮเกน ได้ออกมาเปิดเผยว่า รูโหว่บนชั้นโอโซนใหญ่ผิดปกติและมีขนาดใหญ่กว่าทวีปแอนตาร์กติกา และถือว่ามีขนาดใหญ่กว่าร้อยละ 75 ของรูโหว่บนโอโซนอื่นๆที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ นับตั้งแต่ปี 2522
จากคำแถลงการจาก บริการเฝ้าระวังชั้นบรรยากาศโคเปนเฮเกน
อธิบายว่า โอโซนมีหน้าที่ป้องกันแสงแดด และช่วงฤดูหนาวของทุกปีจะเกิดรูโหว่บนโอโซนบริเวณซีกโลกใต้ของโลก อย่างไรก็ตามในปีนี้รูโหว่มีขนาดใหญ่กว่ารูโหว่ทั่วไป
นักวิจัยได้ให้สัมภาษณ์กับ เดอะ การ์เดี้ยน ว่าพวกเขาจะดูการพัฒนาการของรูโหว่นี้ต่อไปในช่วงสัปดาห์ถัดจากนี้ ซึ่งนักวิจัยไม่สามารถยืนยันได้ว่ารูโหว่นี้จะขยายตัวหรือไม่ แต่เบื้องต้นรูโหว่อันนี้มีความคล้ายกับปี 2563 ซึ่งเป็นรูโหว่ที่มีขนาดลึกและปรากฏอยู่นานที่สุด โดยรูโหว่ดังกล่าวปิดตัวในช่วงคริสต์มาสที่ผ่านมา
โดยนักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่า คลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ CFC เป็นสารเคมีที่มนุษย์คิดค้นและผลิตขึ้นใช้เป็นครั้งแรกในช่วงปี 2473 โดยใช้เป็นสารทำความเย็นสำหรับตู้เย็นหรือระบบทำความเย็นต่างๆ ในปัจจุบันมี 197 ประเทศที่แบบสารดังกล่าว
แมนนี ปาเกียว นักมวยชื่อดัง ได้ประกาศว่าตนจะลงชิงตำแหน่ง ประธานาธิบดี ในปีหน้า โดยตั้งเป้าต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันและภาวะยากจนของประชาชน
เมื่อวันที่ 20 กันยายน สำนักข่าว BBC รายงานว่า นาย แมนนี่ ปาเกียว นักมวยชื่อดังชาวฟิลิปปินส์ประกาศลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในปีหน้า หลังถูกเสนอชื่อจากพรรค PDP-ลาบัน โดยนาย ปาเกียว จะลงสมัครคู่กับนาย คริสโตเฟอร์ บอง โก
โดยนายปาเกียวกล่าวว่า “ผมเป็นนักสู้ตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในและนอกสังเวียน และผมรับการเสนอชื่อเป็นตัวแทนชิงประธานาธิบดีในปีหน้า” ซึ่งยอดนักมวยประกาศว่าตนจะสู้กับการคอร์รัปชันและความยากจนของประชาชน
ขณะที่นาย โรดริโก ดูแตร์เต ประธานาธิบดีคนปัจจุบันจะไม่สามารถลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญของฟิลิปปินส์ที่ระบุว่า ห้ามไม่ให้ผู้นำลงชิงตำแหน่งหากดำรงตำแหน่งครบสองวาระแล้ว ทั้งนี้นายดูแตร์เต ได้ส่งลูกสาว ซาร่า ดูแตร์เต เป็นตัวแทนลงชิงเก้าอี้ประธานาธิบดี และตนลงสมัครในฐานะรองประธานาธิบดี
จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่าในขณะนี้ ปาเกียว ยังคงตามหลังลูกสาวประธานาธิบดีในด้านความนิยม
UN เรียกร้องให้มีการทำข้อบังคับป้องกันอันตรายจากระบบ AI
สหประชาชาติ (UN) ได้เรียกร้องให้มีการชะลอการใช้งานระบบ AI ไม่ให้กว้างขวาง จนกว่าจะมีข้อบังคับที่ดี และโปร่งใสกว่าในขณะนี้ เพื่อป้องกันอันตรายในหลายด้านจากใช้งาน
เมื่อวานนี้ (15 ก.ย. 2564) – สหประชาชาติ (United Nations – UN) ได้ทำการเปิดเผยรายงานการวิเคราะห์ที่มีใจความสำคัญถึง การให้มีการชะลอการใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent – AI) ไม่ให้กว้างขวางไปก่อน จนกว่าจะมีการบัญญัติ หรือกำหนดข้อบังคับ/กฎหมายที่ดี และมีความโปร่งใส่ในการใช้งานระบบดังกล่าวให้มากกว่านี้
Michelle Bachelet, กรรมธิการขั้นสูงสำหรับด้านมนุษยชน ได้กล่าวว่า ระบบ AI นั้น สามารถที่จะเป็นกำลังในด้านที่ดีได้ แต่ว่าก็สามารถที่จะเป็นสิ่งที่มีผลในแง่ลบ จนถึงขั้นวิกฤติได้ ถ้ามีการใช้งานโดยไม่พิจารณาอย่างถี่ถ้วน
ตามเนื้อหาของรายงานวิเคราะห์ดังกล่าวนั้น ได้กล่าวว่า ระบบ AI นั้น สามารถจะส่งผลในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะในด้านสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็น ความเป็นส่วนตัว, สุขภาพ, การศึกษา เช่นเดียวกันกับด้านสิทธิในการเคลื่อนไหว, การแสดงออก และการรวมตัวกันของผู้คน
รายงานของ Bachelet ยังได้กล่าวอีกว่า เนื่องด้วยการเติบโตของการใช้งานอย่างรวดเร็วนั้น ทำให้การศึกษาถึงวิธีการในการทำงานของระบบ AI ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเกี่ยวข้อมูล, สะสมกักเก็บข้อมูล และการใช้งานข้อมูล ถือว่าเป็นหนึ่งในคำถามในด้านสิทธิมนุษยชนที่เร่งด่วนที่สุดเท่าที่เคยมีมา
“ความเสี่ยงในการแบ่งแยกมีการเชื่อมต่อกับการตัดสินใจที่ผลักดันโดย AI – การตัดสินใจที่สามารถเปลี่ยนแปลง, กำหนด หรือทำลายชีวิตของมนุษย์ได้ – ถือว่าเป็นอะไรที่เกินไป”
Bachelet ได้กล่าวประมาณว่า “เราไม่สามารถที่จะเล่นวิ่งไล่จับในประเด็นนี้ได้อีกต่อไป เนื่องด้วยระบบ AI ได้ให้พลังอำนาจอย่างไร้ซึ่งขีดจำกัด และสามารถจะกระทบต่อสิทธิมนุษยชนอย่างเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนที่ว่าเราไม่สามารถปฏิเสธพลังของ AI ได้ แต่ดังนั้นแล้วเราจึงต้องมีการกำหนดทิศทางของการใช้งานโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน เพื่อประโยชน์ที่ดีสุดแก่พวกเราทุกคน”
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง