‘แดเนียล แกรนท์’ โดน ‘ตำรวจ’ เรียก หลังเล่นเวคสเก็ตบนถนนน้ำท่วม

‘แดเนียล แกรนท์’ โดน ‘ตำรวจ’ เรียก หลังเล่นเวคสเก็ตบนถนนน้ำท่วม

โดนแล้ว แดเนียล แกรนท์ แชมป์โลกเวคสเก็ต หลังถูก ตำรวจ เรียก จากคลิปเล่นเวคสเก็ตบนถนนน้ำท่วม ด้านเจ้าตัวสารภาพไม่ได้มีเจตนา จากกรณีที่ แดเนียล แกรนท์ (Daniel Grant) แชมป์โลกเวคสเก็ตปีล่าสุด ลูกครึ่งไทยโพสต์คลิปโชว์ลีลาเล่นเวคสเก็ตหน้าบริเวณมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดน้ำท่วมขังเป็นอย่างมาก เมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา ดังที่มีการรายงานก่อนหน้านี้นั้น

ล่าสุดนายแดเนียล แกรนท์ เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว ที่สภ.คลองหลวง 

พร้อมกับมารดา เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา จากกรณีที่ แดเนียล แกรนท์ วาดลวดลายบนถนนที่น้ำท่วม โดยจุดเกิดเหตุนั้นเป็นช่องทางเดินรถยนต์ด้วย จากพฤติการณ์ผู้ต้องหาเป็นความผิดฐาน “กระทำด้วยประการใด ๆ บนทางหลวง ในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเสียหายแก่ยานพาหนะหรือบุคคล ตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 39, 72 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 114 และนำสิ่งของไปบนทางที่เป็นการกีดขวางการจราจร มาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522” โดยผู้ต้องหาได้ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา

พ.ต.ท.สุชัย แสงส่อง รอง ผกก.สอบสวน สภ.คลองหลวง กล่าวว่า วันนี้ผู้ต้องหาได้มาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกรับทราบข้อกล่าวหา ในความผิดฐานกระทำการและกระทำเรื่องใด ๆ บนทางหลวงในลักษณะอาจเกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ยานพาหนะหรือบุคคลเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 39,72 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 114

แดเนียล แกรนท์ ได้ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา และได้สอบสวนปากคำพิมพ์ลายนิ้วมือและส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมตัวผู้ต้องหาให้อัยการเพื่อให้อัยการส่งฟ้องต่อศาลภายในวันนี้ ระหว่างการสอบสวนผู้ต้องหามีความสำนึกผิดไม่ได้มีเจตนาหรือแสดงอาการหรือทำให้การจราจรกีดขวางหรือเป็นอันตรายหรือบุคคลอื่นเพราะเห็นว่าเป็นบริเวณที่มันว่างช่วงดังกล่าวไม่มีรถผ่านไม่มีเจตนาซึ่งถ้ารู้ก็จะไม่ทำ

ศูนย์จีโนมฯ เผยพบผู้ป่วย BA.2.75.2 ในไทย รายแรกแล้ว

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เผยว่าประเทศไทยพบผู้ป่วยโควิดโอมิครอน BA.2.75.2 ในไทยแล้ว เฝ้าระวังติดตามโควิดเจอเนอเรชั่น 3 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กแจ้งข่าวว่าประเทศไทยพบโควิดโอมิครอน BA.2.75.2 ในไทยแล้ว 1 ราย เตรียมพร้อมรับมือความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ขึ้นในอนาคต

ทางศูนย์จีโนม แจ้งถึงโควิด BA.2.75.2 ว่า “สถาบันจีโนมประเทศอินเดีย (India’s genome sequencing agency, INSACOG) แถลงเตือนว่าโอไมครอน BA.2.75 ซึ่งเริ่มพบระบาดในอินเดียมาตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2565 คิดเป็นร้อยละ 82.9 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ ฺBA.2.75 มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านไม่ยอมรับคือ “เซนทอรัส (Centaurus) หรือมนุษย์ครึ่งคนครึ่งม้าในเทพนิยายกรีก” อันมีนัยถึงการกลายพันธุ์ไปมากที่สุดเมื่อเทียบกับไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์อื่นที่เคยมีการระบาดมาก่อนหน้า ขณะนี้พบว่าโอไมครอน BA.2.75 ได้มีการกลายพันธุ์ต่อเนื่องไปอย่างไม่หยุดยั้ง หนึ่งในสายพันธุ์ย่อยที่กลายพันธุ์ไปคือ “BA.2.75.2” โดยมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “เซนทอรัส 2.0” เนื่องจากเป็นลูกคนที่สองของ BA.2.75 (ลูกคนแรกคือ BA.2.75.1)

ผู้เชี่ยวชาญภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งได้ทวีตว่าโอไมครอน BA.2.75.2 เป็นสายพันธุ์ที่หลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดในปัจจุบัน อาจก่อให้เกิดการแพร่เชื่อได้มากขึ้นไปอีกในอนาคต เป็น “The Super Contagious Omicron Subvariant”

โอไมครอน BA.2.75 กลายพันธุ์มาจาก BA.2 ถือได้ว่าเป็นเจเนอเรชัน 2 ( 2nd generation) โดยมีการกลายพันธุ์ต่างจากไวรัสดั้งเดิม (อู่ฮั่น) 95-100 ตำแหน่ง มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ประมาณ 37% เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่นที่ระบาดอยู่ในอินเดียในปัจจุบัน (ภาพ1,2)

โอไมครอน BA.2.75.2 กลายพันธุ์มาจาก BA.2.75 ถือได้ว่าเป็นเจเนอเรชัน 3 ( 3rd generation) โดยมีการกลายพันธุ์ต่างจากไวรัสดั้งเดิม (อู่ฮั่น) 95 -100 ตำแหน่งเช่นกันแต่มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ถึง 248% เมื่อเปรียบเทียบกับ BA.2.75 ที่ระบาดอยู่ในอินเดียขณะนี้ (ภาพ1,3) พบการระบาดครั้งแรกในประเทศอินเดีย และแพร่ไปยังประเทศ ชิลี อังกฤษ สิงคโปร์ สเปน เยอรมนี และ ประเทศไทย

โอไมครอน BA.2.75.2 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ถึง 90% เมื่อเปรียบเทียบกับ BA.5 (ภาพ 6) และ 148% เมื่อเปรียบเทียบกับ BA.4 ที่ระบาดอยู่ทั่วโลก (ภาพ 7)

โอไมครอน BA.2.75.2 มีการกลายพันธุ์บริเวณส่วนหนาม 3 ตำแหน่งที่ต่างไปจากโอไมครอน BA.2 และ BA.2.75 คือ S:R346T, S:F486S, S:D1199N (ภาพ 4) สามารถใช้เป็นตำแหน่งตรวจกรองด้วยการถอดรหัสพันธุกรรม หรือการตรวจด้วย PCR

จากการสืบค้นจากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบ “โอไมครอน BA.2.75.2 จากประเทศไทยที่อัปโหลดขึ้นมาบน GISAID เพียงรายเดียว” ยังไม่สามารถคำนวณความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เปรียบเทียบกับโอไมครอน BA.4 และ BA.5 ที่ระบาดในประเทศไทยได้เพราะจำนวนตัวอย่าง BA.2.75.2 ในประเทศไม่มากพอ (ภาพ5)

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า