กยศ. ประกาศขยายเวลามาตรการ ‘ลดหย่อนหนี้’ ถึงสิ้นปีนี้

กยศ. ประกาศขยายเวลามาตรการ ‘ลดหย่อนหนี้’ ถึงสิ้นปีนี้

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ประกาศขยายเวลามาตรการ ลดหย่อนหนี้ ทั้ง 5 ประการ ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 (29 มิ.ย. 2565) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ขยายระยะเวลามาตรการ ลดหย่อนหนี้ ช่วยเหลือผู้กู้ยืมต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเหลือ 0.01% ต่อปี ลดเงินต้น 5% ลดเบี้ยปรับ 80-100% ลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% ต่อปี เงื่อนไขเป็นไปตามที่กองทุนกำหนด

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 

เปิดเผยว่า “ในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผ่านมา กองทุนได้มีมาตรการลดหย่อนหนี้เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยขณะนี้ คณะกรรมการกองทุนฯ ได้เห็นชอบขยายระยะเวลามาตรการลดหย่อนหนี้ดังกล่าว เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้กู้ยืมมาชำระเงินคืน จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 รวมระยะเวลา 6 เดือน

โดยมีเงื่อนไขมาตรการ ดังนี้

1. ลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากเดิม 1% ต่อปี เป็น 0.01% ต่อปี สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนกองทุนและไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้

2. ลดเงินต้น 5% กรณีชำระหนี้ปิดบัญชี สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้

3. ลดเบี้ยปรับ 100% สำหรับผู้กู้ยืมเงินทุกกลุ่มที่ชำระหนี้ปิดบัญชี ดังนี้

ผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี สามารถชำระได้ที่ธนาคารกรุงไทยและธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทุกสาขา ผู้กู้ยืมเงินที่ถูกดำเนินคดีแล้ว ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิและนัดหมายวันที่ประสงค์จะชำระหนี้ปิดบัญชีได้ที่ www.studentloan.or.th โดยผู้กู้ยืมเงินต้องชำระค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้เสร็จสิ้นก่อนปิดบัญชี

4. ลดเบี้ยปรับ 80% สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี เมื่อชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (ไม่ค้างชำระ)

5. ลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% ต่อปี สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด

สำหรับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีผู้ที่ได้รับสิทธิลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0.01% จำนวน 6.4 แสนราย มีผู้ที่ใช้สิทธิมาตรการลดเงินต้น 5% จำนวน 26,001 ราย คิดเป็นส่วนลดเงินต้นกว่า 67 ล้านบาท มีผู้ที่ใช้สิทธิมาตรการลดเบี้ยปรับ 100% จำนวน 75,022 ราย คิดเป็นส่วนลดเงินเพิ่มกว่า 1,324 ล้านบาท มีผู้ที่ใช้สิทธิมาตรการลดเบี้ยปรับ 80% จำนวน 404,095 ราย คิดเป็นส่วนลดเงินเพิ่มกว่า 16 ล้านบาท และมีผู้ที่ได้รับสิทธิลดอัตราเบี้ยปรับเหลือ 0.5% จำนวน 1.2 ล้านราย (ข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2564 – พฤษภาคม 2565)

ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบสถานะและยอดชำระได้ที่แอปพลิเคชัน กยศ. Connect หรือสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.studentloan.or.th หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ไลน์บัญชีทางการ กยศ. หรือโทร. 0 2016 4888”

ทุกวันที่ 18 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

– เงินคืนค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 315 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน)

– เงินคืนค่าน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ใช้น้ำประปาไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน จะได้รับเงินคืนค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาท ส่วนที่เกินจาก 100 บาท ผู้ถือบัตรฯ เป็นผู้ชำระเอง)

ทุกวันที่ 22 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

– เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ)

โฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าว “สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐท่านใดที่ไม่ประสงค์จะใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถส่งคืนได้ที่กรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสามารถติดตามข่าวสารของกรมบัญชีกลางได้จากช่องทางต่าง ๆ ของกรมบัญชีกลาง เช่น Facebook Youtube Instagram Twitter และ CGD Application หรือโทรศัพท์สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 0 2109 2345 และ Call Center กรมบัญชีกลาง 0 2270 6400 ในวัน เวลาราชการ”

นายสุชาติ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของนายจ้างนั้น ขอให้มีการยื่นขอรับสิทธิว่างงานผ่านทางเว็บไซต์เดียวกัน และทำการบันทึกข้อมูลลงในระบบ E-Service โดยต้องบันทึกข้อมูลลูกจ้างตามแบบฟอร์มและหนังสือรับรองการหยุดงานกรณีราชการสั่งปิดหรือกักตัว แล้วส่งทางไปรษณีย์ไปยังสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า